หน้าเว็บ

วราพร

วราพร

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ห่างไกลได้ แค่ปฎิบัติตัวเป็น





 โรคความดันโลหิตสูง  หมายถึง ระดับความดันโลหิต 140/90 มม.ปรอท
หรือมากกว่าซึ่งจะเป็นค่าบนหรือค่าล่างก็ได้

 ตารางที่ ระดับความดันโลหิตสูง (มม.ปรอท)  จำแนกตามความรุนแรง
ในกลุ่มคนอายุ  18 ปีขึ้นไป


Category
SBP
-
DBP
Optimal
< 120
และ
< 80
Normal
120 – 129
และ /หรือ
80 - 84
High Normal
130 – 139
และ /หรือ
85 - 89
Grade 1 Hypertension (mild)
140 – 159
และ /หรือ
90 - 99
Grade 2 Hypertension (moderate)
160 – 179
และ /หรือ
100 - 109
Grade 3 Hypertension (severe)
> 180
และ /หรือ
> 110
Isolated Systolic Hypertension
> 140
และ
< 90


หมายเหตุ   SBP : Systolic Blood Pressure ,  DBP : Diastolic Blood Pressure  เมื่อความรุ่นแรงของ SBP และ DBP อยู่ต่างระดับกัน ให้ถือระดับที่รุนแรงกว่าเป็นเกณฑ์ สำหรับ Isolated Systolic Hypertension ก็แบ่งระดับความรุนแรงเหมือนกันโดยใช้แต่ SBP

สาเหตุ  มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะไม่ทราบสาเหตุ
แต่เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยใหญ่ คือ

 
1.กรรมพันธุ์  พบว่าผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่เป็น




  2.สิ่งแวดล้อม  ซึ่งสามารถแก้ไขได้ เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน การรับประทานอาหารเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ภาวะเครียด




อาการ  

  1. ความดันโลหิตสูงระดับอ่อน หรือปานกลางไม่มีอาการใดๆ แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปที่ละน้อย  จนเกิดผลแทรกซ้อนตามมา  

 
2. ความดันโลหิตสูงในระดับรุนแรง อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล ตามอง
ไม่เห็นชั่วขณะ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนศรีษะ แต่อาการเหล่านี้ไม่จำเพาะ ถ้ามีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

ผลแทรกซ้อน

 
1. หัวใจ  ทำให้หัวใจโต  และหลอดเลือดหัวใจหนาตัวและแข็งตัวขึ้นได้




 
2. สมอง  ทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์ และอัมพาท




  3. ไต  มีผลทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพจนถึงขั้นไตวายเรื้อรัง 




  4. ตา  มีผลทำให้เลือดออกที่จอตา หลอดเลือดเล็กๆ ที่จอตาอุดตัน หรือ จนตาหลุดลอกได้




  5. หลอดเลือด  ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ หรือโป่งพองได้




ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

  1. ระดับความรุนแรงของ SBP และ DBP (ระดับที่ 1-3)

  2. ระดับของ Pulse pressure (ในผู้สูงอายุ) > 90 มม.ปรอท

  3. ชายอายุ  > 55 ปี / หญิงอายุ  > 65 ปี

  4. สูบบุหรี่

  5. ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ Total Cholesterol > 190 มก./ดล. หรือ  LDL-C > 115 มก./ดล.  หรือระดับ HDL-C < 40 มก./ดล. ในชายและ < 46 มก./ดล.  ในหญิง หรือระดับ Triglyceride > 150 มก./ดล.

  6. FPG 100 – 125 มก./ดล.

  7. Glucose Tolerance Test ผิดปกติ

  8. ประวัติการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดในบิดา มารดา หรือพี่น้อง ก่อนเวลาอันสมควร (ชายเกิดก่อนอายุ 55 ปี และ หญิงเกิดก่อนอายุ 65 ปี)

  9. อ้วนลงพุง เส้นรอบเอว > 90 ซม. ในเพศชาย และ  > 80 ซม. ในเพศหญิง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ทำทุกรายแม้ในรายที่ยังไม่เป็น โรคความดันโลหิตสูงก็อาจป้องกันหรือชะลอการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้

2. การให้ยาลดความดันโลหิต ไม่จำเป็นต้องเริ่มยาทุกราย และผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง บางรายอาจไม่ต้องใช้ยาก็ได้ หากสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม




การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

ต้องทำในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและช่วยลดความดันโลหิตได้บ้าง (ตารางที่ 2) ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ยาลดความดันโลหิต

ข้อแนะนำ:  ในการทำให้ผู้ป่วยติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  1. ให้สังเกตสิ่งบอกเหตุที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยจะไม่ติดตามการรักษาและรับประทานยาต่อเนื่อง

 
2. ตั้งเป้าหมายของการรักษากล่าวคือ ลดระดับความดันโลหิตลงให้เป็นปกติ โดยให้เกิดฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์จากยาน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย

  3. ติดต่อกับผู้ป่วย
mail  เป็นต้น

  4. พยายามทำให้การดูแลผู้ป่วยไม่แพงและเรียบง่าย

  5. ส่งเสริมการปรับพฤติกรรม

  6. พยายามสอดแทรกการรับประทานยาเข้าไปในกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย

  7. ให้พิจารณาการใช้ชนิดของยาตามหลักเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันนิยมให้ยาที่ออกฤทธิ์ยาว

 
8. ให้พิจารณายุดการรักษาที่ไม่ประสพผลสำเร็จและหาทางเลือกอื่น

  9. ให้คำนึงถึงฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของยา โดยปรับชนิดของยาและให้ยาที่จะ
ป้องกันหรือก่อให้เกิดฤทธิ์ไม่พึงประสงค์น้อยที่สุด

 
10. ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาที่มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์จนได้ขนาดยาที่เพียงพอเพื่อให้ได้ระดับความดันโลหิตเป้าหมาย

 
11. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและญาติมีทัศนคติที่ดีและความเข้าใจถูกต้องต่อการรักษาตลอดจนถึงความสำคัญที่จะต้องควบคุมให้ได้ถึงระดับความดันโลหิตเป้าหมาย

  12. พิจารณาให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีแล้วมาช่วยในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วย





ฟักข้าว แคปซูล 

ปริมาณและราคา 1 ขวด มี 90 แคปซูล ราคา 1300 บาท

สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย 

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


e-mail pannfit@gmail.com        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น