หน้าเว็บ

วราพร

วราพร

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ห่างไกลได้ แค่ปฎิบัติตัวเป็น





 โรคความดันโลหิตสูง  หมายถึง ระดับความดันโลหิต 140/90 มม.ปรอท
หรือมากกว่าซึ่งจะเป็นค่าบนหรือค่าล่างก็ได้

 ตารางที่ ระดับความดันโลหิตสูง (มม.ปรอท)  จำแนกตามความรุนแรง
ในกลุ่มคนอายุ  18 ปีขึ้นไป


Category
SBP
-
DBP
Optimal
< 120
และ
< 80
Normal
120 – 129
และ /หรือ
80 - 84
High Normal
130 – 139
และ /หรือ
85 - 89
Grade 1 Hypertension (mild)
140 – 159
และ /หรือ
90 - 99
Grade 2 Hypertension (moderate)
160 – 179
และ /หรือ
100 - 109
Grade 3 Hypertension (severe)
> 180
และ /หรือ
> 110
Isolated Systolic Hypertension
> 140
และ
< 90


หมายเหตุ   SBP : Systolic Blood Pressure ,  DBP : Diastolic Blood Pressure  เมื่อความรุ่นแรงของ SBP และ DBP อยู่ต่างระดับกัน ให้ถือระดับที่รุนแรงกว่าเป็นเกณฑ์ สำหรับ Isolated Systolic Hypertension ก็แบ่งระดับความรุนแรงเหมือนกันโดยใช้แต่ SBP

สาเหตุ  มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะไม่ทราบสาเหตุ
แต่เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยใหญ่ คือ

 
1.กรรมพันธุ์  พบว่าผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่เป็น




  2.สิ่งแวดล้อม  ซึ่งสามารถแก้ไขได้ เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน การรับประทานอาหารเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ภาวะเครียด




อาการ  

  1. ความดันโลหิตสูงระดับอ่อน หรือปานกลางไม่มีอาการใดๆ แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปที่ละน้อย  จนเกิดผลแทรกซ้อนตามมา  

 
2. ความดันโลหิตสูงในระดับรุนแรง อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล ตามอง
ไม่เห็นชั่วขณะ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนศรีษะ แต่อาการเหล่านี้ไม่จำเพาะ ถ้ามีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์

ผลแทรกซ้อน

 
1. หัวใจ  ทำให้หัวใจโต  และหลอดเลือดหัวใจหนาตัวและแข็งตัวขึ้นได้




 
2. สมอง  ทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์ และอัมพาท




  3. ไต  มีผลทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพจนถึงขั้นไตวายเรื้อรัง 




  4. ตา  มีผลทำให้เลือดออกที่จอตา หลอดเลือดเล็กๆ ที่จอตาอุดตัน หรือ จนตาหลุดลอกได้




  5. หลอดเลือด  ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ หรือโป่งพองได้




ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

  1. ระดับความรุนแรงของ SBP และ DBP (ระดับที่ 1-3)

  2. ระดับของ Pulse pressure (ในผู้สูงอายุ) > 90 มม.ปรอท

  3. ชายอายุ  > 55 ปี / หญิงอายุ  > 65 ปี

  4. สูบบุหรี่

  5. ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ Total Cholesterol > 190 มก./ดล. หรือ  LDL-C > 115 มก./ดล.  หรือระดับ HDL-C < 40 มก./ดล. ในชายและ < 46 มก./ดล.  ในหญิง หรือระดับ Triglyceride > 150 มก./ดล.

  6. FPG 100 – 125 มก./ดล.

  7. Glucose Tolerance Test ผิดปกติ

  8. ประวัติการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดในบิดา มารดา หรือพี่น้อง ก่อนเวลาอันสมควร (ชายเกิดก่อนอายุ 55 ปี และ หญิงเกิดก่อนอายุ 65 ปี)

  9. อ้วนลงพุง เส้นรอบเอว > 90 ซม. ในเพศชาย และ  > 80 ซม. ในเพศหญิง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ทำทุกรายแม้ในรายที่ยังไม่เป็น โรคความดันโลหิตสูงก็อาจป้องกันหรือชะลอการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้

2. การให้ยาลดความดันโลหิต ไม่จำเป็นต้องเริ่มยาทุกราย และผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง บางรายอาจไม่ต้องใช้ยาก็ได้ หากสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม




การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

ต้องทำในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและช่วยลดความดันโลหิตได้บ้าง (ตารางที่ 2) ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ยาลดความดันโลหิต

ข้อแนะนำ:  ในการทำให้ผู้ป่วยติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  1. ให้สังเกตสิ่งบอกเหตุที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยจะไม่ติดตามการรักษาและรับประทานยาต่อเนื่อง

 
2. ตั้งเป้าหมายของการรักษากล่าวคือ ลดระดับความดันโลหิตลงให้เป็นปกติ โดยให้เกิดฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์จากยาน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย

  3. ติดต่อกับผู้ป่วย
mail  เป็นต้น

  4. พยายามทำให้การดูแลผู้ป่วยไม่แพงและเรียบง่าย

  5. ส่งเสริมการปรับพฤติกรรม

  6. พยายามสอดแทรกการรับประทานยาเข้าไปในกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย

  7. ให้พิจารณาการใช้ชนิดของยาตามหลักเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันนิยมให้ยาที่ออกฤทธิ์ยาว

 
8. ให้พิจารณายุดการรักษาที่ไม่ประสพผลสำเร็จและหาทางเลือกอื่น

  9. ให้คำนึงถึงฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของยา โดยปรับชนิดของยาและให้ยาที่จะ
ป้องกันหรือก่อให้เกิดฤทธิ์ไม่พึงประสงค์น้อยที่สุด

 
10. ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาที่มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์จนได้ขนาดยาที่เพียงพอเพื่อให้ได้ระดับความดันโลหิตเป้าหมาย

 
11. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและญาติมีทัศนคติที่ดีและความเข้าใจถูกต้องต่อการรักษาตลอดจนถึงความสำคัญที่จะต้องควบคุมให้ได้ถึงระดับความดันโลหิตเป้าหมาย

  12. พิจารณาให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีแล้วมาช่วยในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วย





ฟักข้าว แคปซูล 

ปริมาณและราคา 1 ขวด มี 90 แคปซูล ราคา 1300 บาท

สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย 

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


e-mail pannfit@gmail.com        

โรคหัวใจที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย...ยับยั้งแลป้องกันได้





นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...

1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุเมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว

2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง


การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน


ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น โรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด

สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ

 สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น

ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย

ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น

รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ


... ยามใดที่ร่างกายอ่อนล้า เราหยุดพักให้หายเหนื่อยได้... แต่ยามใดที่หัวใจอ่อนแรง มันก็ยังคงเดินต่อไป ทำงานต่อไป... เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า "หัวใจ" คนเราไม่เคยหยุดพัก อย่าลืมดูแลรักษามันไว้ให้ดีๆ นะคะ เพือจะได้ไม่เป็น โรคหัวใจ ค่ะ




ฟักข้าว แคปซูล 

ปริมาณและราคา 1 ขวด มี 90 แคปซูล ราคา 1300 บาท

สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย 

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


e-mail pannfit@gmail.com        

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

ว่าด้วยเรื่องก้อนที่เต้านม





เต้านม เป็นอวัยวะสำคัญที่บ่งบอกถึง ความเป็นสัตว์โลกที่เลี้ยงลูกด้วยนม สำหรับมนุษย์ถือว่า เต้านมเป็นสัญลักษณ์ ทางเพศที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเพศหญิง ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยแก่ ถ้าปราศจากอวัยวะนี้แล้ว คงจะมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย อย่างน้อยที่สุด ความเป็นผู้หญิงคงจะด้อยลงไป ดังนั้น หามีโรคภัยไข้เจ็บ ที่เกี่ยวกับเต้านม และทำให้ผุ้หญิงต้องสูญเสีย ของสงวนสิ่งนี้แล้ว คงจะสร้างความสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ผู้ชายเวลานมแตกพาน บางครั้ง ยังอับอายเพื่อนฝูง จนต้องขอให้แพทย์ช่วยผ่าตัดให้

เต้านม ยังทำหน้าที่สำคัญ ในการสืบทอดความเป็นสิ่งมีชีวิต กล่าวคือ ตามขั้นตอนของการสืบพันธุ์ สำหรับสตรีเลี้ยงลูกด้วยนมนั้น เต้านมต้องทำหน้าที่ ผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก

การเปลี่ยนแปลงของเต้านม

เมื่อเติบโตเข้าระยะวัยรุ่น เต้านมจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่ กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของหัวนม รวมทั้งท่อน้ำนมต่างๆ พร้อมกับกระตุ้น ให้มีไขมันแทรกระหว่างท่อน้ำนม ฮอร์โมนอีกชนิดคือ โปรเจนเตอโรน ซึ่งร่างกายจะผลิตออกมาทุกเดือนตามรอบเดือน คอยกระตุ้นปลายท่อน้ำนมให้ขยาย เป็นที่อยู่ของต่อมน้ำนม ทำหน้าที่ผลิตน้ำนม ดังนั้น เวลาประจำเดือนใกล้จะมา ผู้หญิงจะรู้สึกว่าเต้านมโตขึ้น และตึงคัด ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติ ที่ร่างกายตอบสนอง ต่อฮอร์โมนโปรเจนเตอโรน ที่หลั่งออกมาในช่วงเวลาดังกล่าว ย่อมหมายความว่า วงจรของชีวิตแห่งความเป็นเพศหญิง กำลังดำเนินไปอย่างปกติ

เต้านมที่เติบโตเต็มที่ จะมีรูปร่างเกือบจะเป็นครึ่งทรงกลม มีส่วนปลายยื่นเข้าไปบริเวณรักแร้ หัวนมจะเชิดขึ้นเล็กน้อย เป็นที่เปิดของท่อน้ำนม หัวนมจะล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อสีชมพู เรียก ฐานหัวนม (AREOLA) เต้าที่นมแต่ละข้าง มีเส้นประสาทและเนื้อเยื้อพังผืด ประกอบจนเป็นรูปร่าง ที่มีความเต่งตึงในยามสัมผัส หัวนมจะมีเส้นประสาทมาหล่อเลี้ยง เพื่อประโยชน์ในการเลี้ยงลูกด้วยนม

เต้านมของผู้หญิง วางอยู่บนแผงหน้าอกด้านหน้า มีขอบเขตตั้งแต่ กระดูกซี่โครงที่ 2-6 จากบนลงล่าง และตั้งแต่กระดูกหน้าอก ไปจนถึงด้านข้างของทรวงอก เต้านมของผู้ชาย จะไม่เจริญเท่าผู้หญิง นอกจากในช่วงแตกเนื้อหนุ่ม อาจโตขึ้นเล็กน้อย เป็นการชั่วคราวที่เรียกว่า "นมแตกพาน"


สำคัญมากสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป ควรสร้างอุปนิสัยในการตรวจเต้านม ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นคลำหาก้อนที่ผิดปกติในเต้านม

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยการคลำอย่างเป็นระบบ ใช้มือขวาในการคลำเต้านมข้างซ้าย และสลับกันคือ ใช้มือซ้ายคลำเต้านมด้านขวา คลำเต้านมโดยใช้ฝ่ามือเพียง 2-3 นิ้ว สัมผัสด้วยการหมุนไปรอบๆ ตามเข็มนาฬิกากดเบาๆ เพื่อให้ผิวหนังอยู่กับที่ เริ่มจากขอบนอกบนสุด หมุนเป็นวงกลมช้าๆ ตามเข็มนาฬิกา จนกลับมาถึงจุดเริ่มต้น ขยับน้ำมือเข้าไปหาหัวนมราว 1 นิ้ว แล้วหมุนรอบซ้ำแบบเดิมอีก จนเข้ามาในสุดถึงหัวนม





พยายามใช้ความรู้สึกสัมผัส ของเต้านมปกติว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้จำได้ว่า เวลาเกิดความผิดปกติแล้ว มันจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ท่านที่มีรูปร่างผอมบาง อาจมีปัญหาว่ากระดูกหน้าอก อาจปรากฎชัดเจน จนคลำดูเหมือนก้อน
โปรดระลึกไว้เสมอว่า แม้ว่าท่านจะตรวจพบก้อนที่เต้านม ด้วยตนเองก็ตาม แต่แพทย์เท่านั้น ที่จะเป็นผู้ยืนยันว่า ก้อนที่ท่านคลำได้นั้น เป็นก้อนที่ผิดปกติจริงหรือไม่ และเป็นชนิดไม่ร้ายแรง หรือเป็นมะเร็ง ข้อสำคัญ ขอเพียงแต่ให้ท่าน ขยันหมั่นตรวจเต้านม ด้วยตนเองบ่อยๆ เป็นประจำ




ฟักข้าว แคปซูล 

ปริมาณและราคา 1 ขวด มี 90 แคปซูล ราคา 1300 บาท

สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย 

คุณ วราพร แคล้วศึก

โทร. 085-9083178


e-mail pannfit@gmail.com